รัฐบาล “เศรษฐา 1” กับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย (ตอนที่ 1)

 

ภายหลังจากที่นายเศรษฐา ทวีสิน ได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ 30 ของประเทศไทย ด้วยคะแนนเสียง เห็นชอบ 482 เสียง เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา ชนิดม้วนเดียวจบ โดยไม่ต้องลุ้นอะไรกันมากมายแล้ว แถมเป็นการจัดตั้งรัฐบาลที่มีแกนนำในการจัดตั้งทั้ง พรรคภูมิใจไทย ซึ่งก่อนหาเสียง พรรคเพื่อไทยมีแคมเปญ “ไล่หนูตีงูเห่า” พร้อมพรรคแกนนำเดิม 2 ลุง ทั้งพรรคพลังประชารัฐ และ พรรครวมไทยสร้างชาติ ทั้งที่เคยอออกนโยบายหาเสียง “ปิดสวิตซ์ 3 ป.” “มีลุงไม่มีเรา” ก็กลายเป็นเพียงแคมเปญเพื่อการหาเสียงเท่านั้น อ้างว่ากติกาการเมืองในระบอบประชาธิปไตย เขียนไว้แต่ว่า ให้รวมเสียงให้ได้เกินกึ่งหนึ่งของสภาที่มี สส.500 เสียง และ สว.อีก 250 เสียง ดังนั้น เป้าหมายจึงมีแต่การรวมเสียงให้ได้ 376 เสียงขึ้นไป ดังนั้นการได้ 482 เสียงที่ นายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ได้มา จึงเป็นไปตามรัฐธรรมนูญฉบับปี 2562 นี้ทุกประการ

ณ วันนี้ ก็ไม่ได้จะบอกว่าใครทำถูกผิดอย่างไร เพียงแค่อยากเล่าที่มาของนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 นี้ ไว้เพื่อประกอบการเขียนบทความนี้และบทความอื่น ๆ ต่อไปในอนาคตภายใต้รัฐบาลเศรษฐา 1 ซึ่งก็คงจะบริหารประเทศไปอีก 4 ปี ถึงจะมีการเลือกตั้งใหม่อีกครั้ง ก็แปลว่า น่าจะได้เขียนถึงรัฐบาลนี้ ในอีกหลาย ๆ โอกาส ในภายภาคหน้าอย่างแน่นอน

ที่มา : ประชาไท

 

เป็นที่ทราบกันดีว่า นายกเศรษฐา มีพื้นเพอาชีพเดิมคือเป็น CEO ของ บมจ.แสนสิริ ซึ่งเป็นบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยปี ๆ นึง เปิดโครงการคอนโดมิเนียม และ บ้านจัดสรร รวม ๆ กัน ปีละหลายหมื่นล้านบาท ดังนั้นน่าจะเข้าใจถึงปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยเป็นอย่างดีที่สุดคนหนึ่งทีเดียวว่า ธุรกิจนี้กว่าจะสร้างโครงการบ้านจัดสรร อาคารชุด หรือ พัฒนาโครงการใด ๆ จะต้องขออนุญาตจากหน่วยงานรัฐเป็นจำนวนมาก บางโครงการต้องมีใบอนุญาตต่าง ๆ รวมกัน 10-30 ใบอนุญาต จากกระทรวง ทบวง กรม ต่าง ๆ มากมาย ซึ่งใช้เวลา และ เสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมหาศาล แถมยังมีหน่วยงานที่อาศัยอำนาจ หรือ ความไม่ชัดเจนของกฎหมายต่าง ๆ เป็นช่องทางในการเรียกสินบน ซึ่งจะว่าไปบางทีมากกว่าค่าใบอนุญาตตามกฎหมาย น่าจะเกิน 10 เท่าตัวเลยทีเดียว แน่นอนต้นทุนดังกล่าวจะถูกผลักเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนขายบ้าน และ อาคารชุด อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งต้นทุนแฝงเหล่านี้ ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ราคาบ้านสูงกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งได้สร้างความเดือดร้อน และเป็นเหลือบกัดกินความเจริญของประเทศไทยมาช้านาน

 

จะว่าไป นายกเศรษฐา ไม่ใช่ Developer คนแรกที่เป็นนายกรัฐมนตรีในประเทศนี้ อดีตนายกยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เดิมก็เป็น Developer เช่นกัน เดิมก่อนมาเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศ ก็เป็น CEO ของ บมจ.เอสซี แอสเซท บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์เช่นกัน แถมในเวลาที่ห่างกันไม่เกิน 1 ปี ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธ์ ก่อนจะชนะเลือกตั้งแบบถล่มทลาย เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เดิมก็ดำรงตำแหน่ง CEO ของ บมจ.ควอลิตี้เฮ้าส์ บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ Top 10 ของประเทศ ซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เช่นกัน เรียกได้ว่า เหล่า CEO บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ พาเหรดกันเข้ามาเป็นผู้บริหารคนสำคัญในประเทศ แทบจะไล่กันมาติด ๆ เลยทีเดียว แถมในระดับโลก ประธานาธิบดี โดนัล ทรัมป์ เองก็เคยเป็น Developer ชั้นนำในอเมริกามาก่อน ก็มาเป็นผู้นำที่สร้างความสั่นสะเทือนมาแล้วทั้งโลก ทำให้เหล่า Developer รวมทั้งประชาชนผู้ซื้อบ้านทั้งหลาย อดแอบคิดไม่ได้ว่า หรือจะเป็นคราวโชคดีที่จะมีการบริหารประเทศ ให้เข้าทางธุรกิจอสังหาริมทรัพย์แล้วละมั้งงานนี้ เผลอ ๆ อาจจะมีการออกมาตรการดี ๆ มากระตุ้น ทำให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์กลับมาเป็นขาขึ้นอีกครั้งอย่างแน่นอน

 

* ที่มา : ดร.นพ.วัชช์ เกษมทรัพย์

THE BANGKOK RESIDENCE
"Real Estate for Happiness"
 
Contact us now
Call Center : 1319
Line @bkkresidence

You May Also Like These Articles

请登记您的联系方式,我们将尽快与您联系。
请咨询房地 产专业