หนึ่งปัญหาหลักของการจะซื้อคอนโดหรือบ้านสักหลังหนึ่ง การกู้ไม่ผ่านเรียกได้ว่าเป็นปัญหาของคนอยากมีคอนโดหลายๆ คน ซึ่งการจะกู้คอนโดสักแห่งนั้นถ้ามีรายได้ไม่สูงมากนัก หรือมีรายได้ไม่เหมาะสมกับโครงการที่จะซื้อ ก็มีโอกาสสูงที่ทางธนาคารไม่อนุมัติได้ รวมถึงปัญหาอื่นๆ เช่น การมีภาระผ่อนชำระอย่างอื่น เช่นการผ่อนรถอยู่แต่ต้องการจะกู้ซื้อบ้านเพิ่มนี่ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้กู้ไม่ผ่านได้เช่นกัน
แน่นอนว่า "การกู้ร่วม" จะเป็นอีกหนึ่งทางออกสำหรับปัญหานี้ แน่นอนว่าผู้ช่วยรับภาระชำระหนี้มากขึ้นโอกาสที่จะกู้ผ่านก็มากขึ้นตามไปด้วย แล้วก่อนกู้ร่วมต้องรู้รายละเอียดอะไรบ้าง เราคัดมา 6 ข้อสำคัญ มีอะไรบ้างวันนี้มาหาคำตอบกันครับ
ใครที่สามารถกู้ร่วมได้?
การกู้ร่วมจะทำได้ก็ต่อเมื่อผู้กู้ร่วมต้องเป็นญาติ หรือสายโลหิตเดียวกันไม่ว่าจะเป็น
- นามสกุลเดยียวกัน พ่อ-แม่-พี่-น้อง-ลูก
- พี่น้องท้องเดียวกันแต่คนละนามสกุลก็สามารถยื่นกู้ร่วมกันได้ แต่ต้องแสดงหลักฐานอย่างสูติบัตรเพื่อเป็นการยืนยันว่าเป็นพ่อแม่เดียวกัน
- รวมถึงสามี-ภรรยาที่ ก็สามารถกู้ร่วมได้ด้วยเช่นกัน แต่ถ้าหากเป็นแฟนกันโดยที่ยังไม่ได้แต่งงานในกรณีนี้จะไม่สามารถยื่นกู้ร่วมได้
สามี-ภรรยา ที่ไม่จดทะเบียนสมรส กู้ร่วมได้ไหม ?
ในกรณีที่เป็นสามี-ภรรยา แต่ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสการกู้ร่วมสามารถทำได้ แต่ต้องสแงดหลักฐานยืนยันการเป็นสามี-ภรรยาที่ตรวจสอบได้จริง
-หนังสือรับรองว่ามีบัตรร่วมกัน
-ภาพถ่ายวันงานแต่งงาน
ทั้งหมดนี้สามารถยื่นเป็นหลักฐานในการกู้ร่วมในกรณีที่ไม่จดทะเบียนสมรสได้นั่นเอง
ผู้กู้ร่วมต้องจ่ายค่างวดด้วยกันจนครบกำหนด
การกู้ร่วมหมายถึงผู้กู้ร่วมทุกคนจะต้องเป็นหนี้ร่วมกันคนละครึ่งหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น สามี-ภรรยา กู้ซื้อคอนโดร่วมกันในราคา 3 ล้านบาท จะต้องเป็นหนี้คนละ 1.5 ล้านบาท แต่ไม่ได้หมายความว่าทั้งสองฝ่ายจะต้องจ่ายเท่ากันแต่ผู้กู้ร่วมทุกคนจะต้องชำระค่างวดร่วมกันนั่นเอง ดังนั้นการกู้ร่วมกันจะต้องจ่ายค่างวดให้ตรงตามกำหนด และจ่ายค่างวดจนครบกำหนดนั่นเอง
หากผู้กู้คนหนึ่งชำระหนี้ไม่ได้ ทำยังไง ?
หากเป็นในกรณีที่มีเหตุจำเป็น หรือเกิดเหตุการณ์ที่ผู้กู้ร่วมเสียชีวิต ผู้กู้ร่วมอีกคนหนึ่งจะต้องแจ้งกับธนาคารซึ่งถ้าหากไม่แจ้ง สัญญาจะเป็นไปในรูปแบบเดิมนั่นก็คือหากผู้กู้คนหนึ่งไม่สามารถจ่ายค่างวดได้ ผู้กู้อีกคนจึงต้องจ่ายแทนแต่เพียงผู้เดียวนั่นเอง แต่ถ้าหากในกรณีที่ผู้กู้คนหนึ่งเสียชีวิตต้องแจ้งกับธนาคารเพื่อที่ธนาคารจะเปลี่ยนให้ทายาทของผู้เสียชีวิตเข้ามารับช่วงแต่ ซึ่งในกรณีนี้ทายาทจะต้องเป็นผู้บรรลุนิติภาวะเท่านั้นรวมถึงผ่านการประเมินจากธนาคารว่าสามารถชำระค่างวดได้ในฐานะคนกู้ร่วม หากทายาทผู้เสียชีวิตยังไม่บรรลุนิติภาวะผู้กู้ร่วมสามารถหาผู้กู้ร่วมท่านอื่นได้ ซึ่งธนาคารจะมีการประเมินความสามารถที่จะทำการกู้ร่วมตามขั้นตอน
ถอนชื่อกู้ร่วมทำได้ แต่ต้องเซ็นยินยอมทุกฝ่าย
การถอนชื่อจากการเป็นผู้กู้ร่วมมีหลายกรณียกตัวอย่างเช่น สามี-ภรรยา ที่หย่าร้างกันแต่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ต้องการที่จะชำระค่างวดที่เหลือต่อแล้ว ซึ่งการขอยกเลิกนั้นสามารถทำได้แต่ทางธนาคารต้องประเมินแล้วว่าผู้กู้ร่วมที่เหลืออยู่นั้นมีความสามารถที่จะชำระค่างวดได้ตรงตามระยะเวลาที่กำหนด รวมถึงการที่ผู้กู้ร่วมฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะยกเลิกสัญญาจะต้องเซ็นยินยอมทั้งสองฝ่าย แต่ถ้าหากธนาคารประเมินแล้วว่าผู้กู้ร่วมที่เหลืออยู่ไม่สามารถชำระค่างวดต่อไหว จะสามารถหาผู้กู้ร่วมท่านอื่นมาแทน ซึ่งจะผ่านกระบวนการประเมินจากทางธนาคารด้วยเช่นกัน
ใครจ่ายค่าธรรมเนียมกรมที่ดินและธนาคาร ?
ในส่วนของค่าใช้จ่ายอื่นๆ อย่างเช่นค่าจดจำนอง หรือค่าธรรมเนียมต่างๆ ผู้ที่มีชื่อในสัญญากู้ร่วมจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายร่วมกัน ซึ่งค่าธรรมเนียมต่างๆ ที่ต้องจ่ายจะมีดังนี้
- ค่าธรรมเนียมในการโอนสิทธิ์จากราคาประเมินกรมที่ดิน
- ค่าจดจำนองของวงเงินกู้
- ค่าประเมินหลักทรัพย์
- ค่าประกัน
📍𝗦𝗔𝗟𝗘 𝗢𝗙𝗙 𝗨𝗣 𝗧𝗢 𝟱𝟬%
𝗕𝗥 𝗔𝗚𝗘𝗡𝗧 จัดให้ช้อป 𝙊𝙉𝙇𝙄𝙉𝙀 แบบจุกๆ
กับคอนโดทำเลดี 4 ย่านสุดฮอต
✊️ ช้าหมดอด ต้องรีบจอง! ✊️
✅ 𝐒𝐮𝐤𝐡𝐮𝐦𝐯𝐢𝐭
𝗖𝗹𝗶𝗰𝗸 > https://bit.ly/3ny5Qc6
✅ 𝐒𝐚𝐭𝐡𝐨𝐫𝐧
𝗖𝗹𝗶𝗰𝗸 > https://bit.ly/34FkqWk
✅ 𝐏𝐡𝐚𝐲𝐚𝐭𝐡𝐚𝐢
𝗖𝗹𝗶𝗰𝗸 > https://bit.ly/2GDkdLi
✅ รัชดา
𝗖𝗹𝗶𝗰𝗸 > https://bit.ly/3d9x17Y
📍 เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
ติดตามข้อมูลข่าวสารดี ๆ ทุกสัปดาห์ได้ที่
✅LINE@ : https://bit.ly/2TsKemK
✅Facebook : https://bit.ly/3p4NVuP
✅Instagram : https://bit.ly/3q6B7Xk
✅Twitter : https://bit.ly/3nTJOBy
✅Blockdit : https://bit.ly/3wAfv8O
✅Website : https://bit.ly/35oRzGw