Thebkkresidence.com
อยากจะมีคอนโดมิเนียมสักที แต่ดันทำเรื่องกู้ซื้อไม่ผ่านหรือกู้ได้ไม่เต็มวงเงิน
ปัญหานี้มีทางออกค่ะ นั่นก็คือการ “กู้ร่วม” นั่นเอง การกู้ร่วมซื้อคอนโด-บ้าน ก็คือการเซ็นสัญญากู้ซื้อทรัพย์สินชิ้นเดียวกัน เป็นการนำรายได้ของบุคคล 2 หรือ 3 คนมาเสริมให้สามารถเพิ่มความสามารถในการชำระหนี้ให้เพียงพอต่อการผ่อนชำระตามสัญญาในแต่ละเดือน สามารถใส่ชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ได้ 2 กรณี คือใส่ชื่อคนเดียว หรือใส่ชื่อผู้กู้ร่วมทั้งหมด คุณสมบัติของผู้กู้ร่วมนั้น ในอดีตผู้กู้ร่วมจะต้องร่วมสายเลือดเดียวกัน เป็นคนในครอบครัว หรือหากเป็นคู่สมรสที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ต้องใช้ใบลงบันทึกประจำวัน มีหลักฐานการแต่งงาน เช่น ภาพถ่ายวันแต่งงาน หรือแม้แต่บุตร สำหรับในปัจจุบัน ในกรณี LGBTQ ที่เป็นที่ถกเถียงกันมาตลอดถึงความไม่เข้าเงื่อนไขข้างต้น ทำให้มีหลายๆสถาบันการเงินเริ่มหันมาปรับเปลี่ยนเงื่อนไขให้ผู้กู้ร่วมในกลุ่ม LGBTQ สามารถกู้ร่วมกับคู่รักได้ เช่น สินเชื่อบ้านธนาคารกสิกรไทย,สินเชื่อบ้าน ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด และสินเชื่อบ้านธนาคารยูโอบี
Note : การกู้ร่วม แตกต่าง กับการค้ำประกัน การกู้ร่วมจะนำรายได้ของผู้กู้ร่วมมาประเมิน และธนาคารสามารถเรียกเก็บจากใครก็ได้ในการกู้ร่วม แตกต่างจาก การค้ำประกันจะไม่นำรายได้ของผู้ค้ำประกันมาประเมิน กรณีค้ำประกันจะเรียกผู้กู้ให้ชำระก่อน ถ้าผู้กู้ไม่ชำระ จึงจะไปเรียกร้องกับผู้ค้ำประกัน
ขั้นตอนการกู้ร่วม เอกสารสำหรับการกู้ร่วม
1.บัตรประชาชน 2.ทะเบียนบ้าน 3.ทะเบียนสมรส หรือใบสำคัญการหย่า (ถ้ามี) 4.ใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล (ถ้ามี) 5.บัตรประชาชนและทะเบียนบ้านของคู่สมรส (ถ้ามี) 6.หลักฐานแสดงความสัมพันธ์ในกรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรส เช่น ใบสูติบัตรบุตร, ใบทะเบียนบ้านบุตร, การ์ดแต่งงาน, รูปถ่ายแต่งงาน เป็นต้น กรณีประกอบอาชีพอิสระ/ธุรกิจส่วนตัว 1.ทะเบียนการค้า 2.หนังสือรับรองกระทรวงพาณิชย์ 3.หนังสือบริคณห์สนธิ
ต้องทำอย่างไร หากต้องเลิกกันกะทันหันหลังจากกู้ร่วมแล้ว? 1. ถอดถอนชื่อผู้กู้ร่วม ตกลงกันให้ได้ว่าใครจะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ของบ้านหลังนี้ และอีกฝ่ายต้องยินยอมโอนกรรมสิทธิ์ เพราะหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ยอม ก็ไม่สามารถถอดถอนชื่อผู้กู้ร่วมได้ แต่หากเจรจากันได้ ก็นัดหมายกันไปที่กรมที่ดินเพื่อขอโอนเปลี่ยนชื่อ โดยฝ่ายที่กู้ต่อก็ต้องผ่อนบ้านเพียงลำพัง ทั้งนี้หากผู้กู้มีประวัติการชำระหนี้ที่ไม่ดีหรือรายได้ไม่เพียงพอ ทางธนาคารอาจจะไม่อนุมัติให้ถอดถอนชื่อผู้กู้ร่วม เพราะธนาคารจะมีความเสี่ยงเพิ่ม
2. รีไฟแนนซ์จากกู้ร่วมเป็นกู้คนเดียว การรีไฟแนนซ์ไปธนาคารใหม่เพื่อขอกู้คนเดียว โดยทั่วไปธนาคารจะอนุมัติให้กู้คนเดียวแต่ต้องมีการประเมินว่าผู้กู้มีความสามารถในการชำระหนี้หรือไม่ โดยมีเงื่อนไขดังนี้ ธนาคารจะตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ เช่น หน้าที่การงาน รายได้ แหล่งที่มาของรายได้ ภาระหนี้สิน และความมั่นคงของงาน โดยเฉพาะพฤติกรรมการผ่อนชำระหนี้ตรงเวลากับธนาคารเก่า มีการติดเครดิตบูโรหรือไม่
3.ขายทิ้ง วิธีสุดท้ายที่อาจเจ็บแต่จบ คือการตกลงร่วมกันว่าจะขายคอนโดมิเนียม และอย่าลืมที่จะตกลงเรื่องค่าใช้จ่ายการซ่อมแซมต่างๆ ปรับปรุงให้ดูสะอาดและใหม่ เพื่อที่จะได้ขายออกได้ง่ายขึ้น เพราะผู้ซื้อส่วนใหญ่ต้องการคอนโดมิเนียมที่มีสภาพดีนั่นเองค่ะ และวิธีที่จะทำให้คอนโดมิเนียมขายออกได้ไวหรือหากไม่ต้องการขายแต่ต้องการปล่อยเช่าแทนก็สามารถฝากขาย-ฝากเช่าไว้กับ Agent ที่เชื่อถือได้ เลือก Agent ที่มีผลงานและอยู่ในตลาดมานาน เพราะ Agent ที่เลือกจะช่วยให้คุณปล่อยคอนโดมิเนียมออกได้ไว และมีแผนการตลาดช่วยเหลือให้คุณได้มากกว่า
คอนโดทำเลดี 4 ย่านสุดฮอต ⚡️ คอนโดย่าน พญาไท 𝗖𝗹𝗶𝗰𝗸 > https://bit.ly/3Bivw3U ⚡️ คอนโดย่าน รัชดา 𝗖𝗹𝗶𝗰𝗸 > https://bit.ly/3RKoyf1 ⚡️ คอนโดย่าน สาทร 𝗖𝗹𝗶𝗰𝗸 > https://bit.ly/3RYyoK4 ⚡️ คอนโดย่าน สุขุมวิท 𝗖𝗹𝗶𝗰𝗸 > https://bit.ly/3QG1ug3
ติดตามข้อมูลข่าวสารจาก BR Agent ได้ที่นี่ทุกวัน 📞 Call 1319 LINE@: http://line.me/ti/p/%40bkkresidence Facebook: https://www.facebook.com/TheBangkokResidence Instagram: https://www.instagram.com/thebangkokresidence/