Бизнес в сфере недвижимости Для стареющего тайского общества это большой рынок, за которым стоит следить.

 

ตลาดผู้สูงอายุในประเทศไทย

 

ณ วันนี้ปี 2566 ไทยกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุแล้ว โดยไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย (Aged Society) มาตั้งแต่ปี พศ.2548 จนถึงปัจจุบัน ไทยมีสัดส่วนประชากรกลุ่มผู้สูงอายุ หรือ มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป มากกว่า 12 ล้านคน หรือ คิดราว 17% ของประชากรทั้งประเทศ เป็นอันดับสองในกลุ่มอาเซียน รองจากประเทศสิงคโปร์ นอกจากนี้ไทยก็ถูกคาดการณ์ว่าจะเป็นประเทศกำลังพัฒนาประเทศแรกของโลก ที่ก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุแบบสมบูรณ์ (Aged Society)* แถมซ้ำเติมด้วยอัตราการเกิดที่ลดลงต่ำกว่า 600,000 คนต่อปี ในขณะที่อัตราการตายมากกว่า ซึ่งก็แปลว่าประชากรไทย ตัวเลขรวมเริ่มลดลงมาตั้งแต่ปี 2565 แล้วครับ

 

ปัญหาที่ตามมาของการเป็นสังคมผู้สูงอายุมีมากมาย อาทิเช่น การขาดแคลนแรงงานของประเทศ ซึ่งก็คือ คนทำงานไม่พอกับการเติบโตของเศรษฐกิจ และแน่นอนคนเสียภาษีก็น้อยลงตามลำดับ ปัญหาการจัดเก็บรายได้จากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของประเทศ ก็จะมีแนวโน้มลดลงตามวัยทำงานที่ลดลง ปัญหาการจัดการด้านสาธารณสุข ซึ่งเป็นที่ทราบดีว่า ผู้สูงอายุมักจะมีปัญหาสุขภาพตามวัย โดยโรคกลุ่มไม่ติดต่อเช่น เบาหวาน ความดัน คลอเรสเตอรอล เส้นเลือดสมอง และหัวใจ ต่าง ๆ ก็เป็นไปตามความเสื่อมสภาพของวัย ซึ่งต้องรักษา และมีค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก ถ้าไปถึงขั้นนอนติดเตียงช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ก็จะส่งผลให้เป็นปัญหาที่ครอบครัวและสังคมต้องช่วยกันดูแลกันต่อไปในระยะยาว ดังนั้นความต้องการที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุจึงแตกต่างจากที่อยู่อาศัยของคนวัยอื่น โดยทั่วไปพอสมควร

 

5 ปัจจัยที่ผู้สูงวัยมองหา เมื่อต้องการซื้อบ้าน **

1. เพิ่มพื้นที่ส่วนตัว 44% เพราะพออายุมากขึ้นก็ต้องการความสงบมากขึ้น ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีพื้นที่ส่วนตัวที่ไม่ต้องการรวมกับสมาชิกที่มีวัยแตกต่างกัน เพราะพฤติกรรมการใช้พื้นที่ของคนต่างวัยที่ต่างกัน จะทำให้ต่างฝ่ายต่างรบกวนซึ่งกันและกันไปเองตามธรรมชาติ การมีพื้นที่ส่วนตัวของผู้สูงวัยจะทำให้มีความสุขมากขึ้นนั่นเอง

2. ต้องการไปอยู่อาศัยในทำเล หรือบรรยากาศใหม่ 31% เหตุเพราะผู้สูงวัยเกษียณอายุแล้ว เดิมอาจจะอยู่ในบ้าน คอนโด หรือ อพาร์ทเม้นท์ใกล้ที่ทำงานมาตลอดอายุการทำงาน 30-40 ปี ย่อมเกิดความเบื่อหน่าย พอเกษียณก็ไม่จำเป็นต้องอยู่ในที่อาศัยเดิมแล้ว ก็เปิดโอกาสให้เค้าสามารถเลือกที่จะอยู่ที่ใดก็ได้ที่เค้าพอใจ

3. ให้ความสำคัญกับความสะดวกที่มากขึ้น 26% เช่น อยู่ใกล้โรงพยาบาล ที่ทำงาน โรงเรียน เดิม การอยู่ใกล้โรงพยาบาล น่าจะเป็นอันดับรอง ๆ ลงไป กว่าการใกล้ที่ทำงาน หรือ โรงเรียน พอเกษียณแล้ว งานก็ไม่ต้องทำ ลูกก็เรียนจบหมดแล้ว ที่ ๆ ผู้สูงอายุต้องไปบ่อยกว่าคือ โรงพยาบาล ดังนั้นการอยู่ใกล้โรงพยาบาล จึงมีความสำคัญขึ้นมา

4. ซื้อเพื่อการลงทุน 26% ผู้สูงอายุวัยเกษียณ จะได้เงินบำเหน็จ บำนาญ มาระดับหนึ่ง หรือส่วนใหญ่ผ่อนบ้านกับรถยนต์ หมดแล้ว จึงมีเงินเหลือพอที่จะลงทุนได้ แถมยังมีประสบการณ์การลงทุนมาระดับหนึ่ง การซื้อเพื่อการลงทุน จึงเป็นทางเลือกหนึ่งของคนวัยนี้

5. ซื้อเพื่อเพิ่มพื้นที่ให้กับสมาชิกในครอบครัว วัยสูงอายุ เริ่มจะมีหลานที่เริ่มโต เรียนมหาวิทยาลัย หรือ อาจจะเพิ่งมีงานทำ ดังนั้นก็อยากจะมีพื้นที่ส่วนตัวมากขึ้น ถ้าที่อยู่อาศัยใหม่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกหลานได้ ผู้สูงอายุก็พร้อมจะซื้ออสังหาริมทรัพย์นั้นเพื่อให้แก่ลูกหลานอันเป็นที่รัก

 

ดังนั้นหากนักพัฒนาที่ดินใดอยากจะจับตลาดผู้สูงอายุ ก็จำเป็นจะต้องเข้าใจพฤติกรรมและปัจจัยในการเลือกซื้อที่อยู่อาศัยของวัยนี้ให้ถูกต้อง เพื่อการออกแบบ ก่อสร้าง หรือเลือกทำเลให้โดนใจวัยเกษียณ ถ้าทำได้ดังนี้เหมือนโบราณท่านว่า “ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ ผูกอู่ตามใจผู้นอน” รับรองขายดีแน่นอนครับ

* ที่มา : ดร.นพ.วัชช์ เกษมทรัพย์

** ที่มา : DD Property

 

THE BANGKOK RESIDENCE
"Real Estate for Happiness"
 
Contact us now
Call Center : 1319
Line @bkkresidence

 

You May Also Like These Articles

Пожалуйста, зарегистрируйте свои контактные данные, и вас свяжут в ближайшее время.
Получить консультацию эксперта