Lessons learned from 'Ashton Asoke', a luxury condo along Sukhumvit Road. By real estate guru

ถอดบทเรียน ‘แอชตัน อโศก’ คอนโดหรูริมถนนสุขุมวิท โดยกูรูอสังหาฯ

มารู้จักกับโครงการ “แอชตัน อโศก” กันก่อน

โครงการแอชตัน อโศก (Ashton Asoke) ถูกพัฒนาโดย บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งร่วมทุนกับ มิตซุย ฟูโดซัง จากประเทศญี่ปุ่น โดยโครงการดังกล่าวเป็นคอนโดมิเนียมสุดหรู สไตล์โมเดิร์น สูง 50 ชั้น มีชั้นใต้ดิน 1 ชั้น และมีห้องชุด 783 ยูนิต ตัวโครงการตั้งอยู่บนที่ดิน 2 ไร่ 3 งาน และมีพื้นที่อาคารกว่า 46,700 ตารางเมตร คิดเป็นมูลค่าโครงการรวมกว่า 6,400 ล้านบาท ทำเลที่ตั้ง รูปลักษณ์ภายนอกโดดเด่น ตั้งอยู่บนถนนอโศกมนตรี ห่างจากรถไฟฟ้า MRT สถานีสุขุมวิทเพียง 20 เมตร

โดยปัจจุบันคอนโด “แอชตัน อโศกมีลูกบ้านที่เป็นเจ้าของร่วม 580 ครอบครัว มีทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติรวมกว่า 20 ประเทศ และยังมียูนิตเหลือขายอีก 117 ยูนิต คิดเป็น 13% ของทั้งหมด ตีเป็นมูลค่ากว่า 828 ล้านบาท

 

จุดเริ่มต้นของการฟ้องร้อง

คอนโดแอชตัน อโศก มีปัญหาใหญ่คือ เรื่องทางเข้า-ออก จนกลายเป็นปัญหาการฟ้องร้องกันขึ้น เมื่อดูแผนที่จะเห็นว่าทางเข้า-ออกของคอนโดนี้มี 2 ทาง คือ

1. ซอยเล็ก ๆ ที่ทะลุด้านหลังไปยังซอยสุขุมวิท 19 มีความกว้างแค่ 2-3 เมตร ถ้าจะสร้างตึกบริเวณนี้ ตามกฎหมายสามารถทำได้เพียง 2-3 ชั้น

2. ทางเข้า-ออกด้านหน้าที่มุ่งสู่ถนนอโศกมนตรี เส้นทางนี้มีความเกี่ยวข้องกับทางเข้า-ออกของรถไฟฟ้า MRT สุขุมวิท ซึ่งอาจทำให้ไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นทางออกของทางโครงการอย่างแท้จริง และชาวบ้านยังไม่พอใจ เพราะที่ดังกล่าวนั้นเป็นพื้นที่ของรถไฟฟ้าที่เวนคืนมาเพื่อประโยชน์ส่วนรวม จะให้คอนโดมาเคลมด้วยได้อย่างไร อีกทั้งเรื่องนี้ยังติดข้อกฎหมายที่ไม่ผ่านมติ ครม. ด้วย ถือเป็นสัญญาโดยมิชอบ

ด้วยเหตุผลดังกล่าว โครงการนี้จึงเปรียบเหมือนกับที่ดินตาบอด ไม่มีทางออกเป็นของตนเอง ซึ่งหากยึดกันตามหลักกฎหมาย ถ้าจะสร้างตึกสูงแบบ Hi rise จะต้องมีหน้ากว้าง 12 เมตร และติดกับถนนกว้าง 18 เมตร เพื่อเวลาที่เกิดปัญหาด้านอัคคีภัย รถดับเพลิงหรือการเคลื่อนย้ายต่าง ๆ จะได้ทำได้ง่าย

ทำให้จากเดิมที่ตอนแรก สามารถสร้างตึกสูงได้เพราะมีทางออกติดถนนอโศก แต่พอที่ดินถูกเวนคืน แล้วทาง รฟม.ก็นำไปสร้างสถานีรถไฟฟ้าปิดอยู่ด้านหน้า จึงทำให้โครงการแอสตันมีถนนเป็นทางออกสู่ถนนอโศก ด้วยความกว้างที่ไม่เป็นไปตามกฎหมาย หรือก็คือไม่ถึง 12 เมตรนั่นเอง ซึ่งไม่เป็นไปตามข้อกฏหมายนั่นเอง จนกลายเป็นที่มาที่ศาลปกครองกลางสั่งเพิกถอนใบอนุญาต

You May Also Like These Articles

Please Register your contact infomation and you’ll be contacted shortly.
Consult Real Estate Experts