ซ่อมเล็กซ่อมน้อยในคอนโด: ทำไมผู้เช่าต้องจ่าย?

ซ่อมเล็กซ่อมน้อยในคอนโด: ทำไมผู้เช่าต้องจ่าย? 

เมื่อพูดถึงการเช่าคอนโด หลายคนอาจคิดว่าจ่ายค่าเช่าเสร็จก็จบแล้ว แต่รู้หรือไม่ว่าการเป็นผู้เช่าก็มีหน้าที่มากกว่าที่คิด โดยเฉพาะเรื่องการบำรุงรักษาห้องชุดที่คุณเช่าอยู่ เช่น เปลี่ยนหลอดไฟที่ขาด ซ่อมแซมก๊อกน้ำที่รั่ว หรือดูแลอุปกรณ์เล็ก ๆ น้อย ๆ ในห้อง หลายครั้งที่ผู้เช่าเกิดคำถามว่าทำไมต้องเป็นเราที่ออกค่าใช้จ่ายหรือดำเนินการเองทั้ง ๆ ที่เสียค่าเช่าแล้ว และหากผู้เช่าต้องรับผิดชอบ จะต้องรับผิดชอบอย่างไร และต้องจ่ายอะไรบ้าง ชีวิตจริงไม่ง่ายเลย! 

การบำรุงรักษาห้องเช่าผู้เช่าก็ต้องจ่ายด้วยเหรอ? ตามกฎหมายนั้น ผู้เช่าต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเล็ก ๆ น้อย ๆ ในการซ่อมแซมเอง นี่ไม่ใช่เรื่องน่าแปลก เพราะ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 552 กำหนดชัดเจนว่า ผู้เช่ามีหน้าที่ “บำรุงรักษาทรัพย์สินเช่าตามปกติ” ซึ่งหมายถึงการดูแลซ่อมแซมทั่วไป เพื่อให้ห้องยังคงอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดี ยกตัวอย่างเช่น กลับมาห้องพร้อมกับความมืดเพราะหลอดไฟดับ คุณอาจรู้สึกว่าควรโทรแจ้งเจ้าของห้องเพื่อให้มาช่วยแก้ไข แต่ในความจริงแล้ว นี่เป็นเรื่องเล็กน้อยที่ผู้เช่าควรรับผิดชอบเอง การเปลี่ยนหลอดไฟถือว่าเป็นการบำรุงรักษาทั่วไป ที่ตามกฎหมายผู้เช่าต้องดูแล ซ่อมไฟติดแล้วว่าจะอาบน้ำเสียหน่อย เอ๊ะเสียงน้ำหยดติ๋ง ๆ ตลอดทั้งเวลาจากก๊อกน้ำเก่าที่เริ่มเสื่อมสภาพ คุณอาจหวังว่าเจ้าของห้องจะมาช่วยซ่อมให้ แต่หากเป็นเพียงการเสื่อมสภาพตามปกติของก๊อกน้ำ การซ่อมแซมนี้ก็เป็นหน้าที่ของคุณในฐานะผู้เช่าเช่นกัน เพราะถือว่าเป็นความเสียหายเล็กน้อยที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน 

แล้วเมื่อไหร่หรืออะไรจึงเรียกว่าความเสียหายใหญ่ที่เจ้าของต้องรับผิดชอบ? ถึงแม้ว่าผู้เช่าต้องรับผิดชอบในการซ่อมแซมเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่ถ้าเป็นปัญหาใหญ่ เช่น เครื่องปรับอากาศที่เจ้าของติดตั้งไว้พัง หรือระบบท่อภายในอาคารรั่วซึมจนทำให้น้ำท่วมห้อง แบบนี้ เจ้าของห้องต้องรับผิดชอบในการซ่อมแซม ตามกฎหมายซึ่งกำหนดว่าผู้ให้เช่ามีหน้าที่ซ่อมแซมทรัพย์สินที่เช่าให้สามารถใช้งานได้ตามปกติ โดยผู้ให้เช่าต้องรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการเสื่อมสภาพของอุปกรณ์ภายในห้องที่ไม่ได้มาจากการใช้งานของผู้เช่า เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เจ้าของห้องติดตั้ง หรือท่อน้ำที่มีอายุการใช้งานนานจนเกิดปัญหา 

ถึงกฎหมายจะระบุกำหนดเช่นนั้น แต่ชีวิตจริงไม่ง่ายเลย สิ่งไหนซ่อมเล็กสิ่งไหนซ่อมใหญ่ เถียงกันจนคอขึ้นเอ็นก็แล้ว ตามให้เจ้าของมาซ่อมก็แล้ว ผู้เช่าทนได้ก็ทนไป แน่นอนปัญหาเหล่านี้จะลดน้อยลงและเพื่อเป็นการป้องกันการทะเลาะ ทั้งสองฝ่ายควรตกลงให้ชัดเจนก่อนเช่า แม้กฎหมายจะระบุหน้าที่ของทั้งผู้เช่าและเจ้าของห้อง แต่สิ่งที่ดีที่สุดคือการตกลงกันให้ชัดเจนตั้งแต่ต้นว่าใครรับผิดชอบอะไรบ้าง ข้อตกลงนี้สามารถระบุไว้ในสัญญาเช่าได้ เช่น บางเจ้าของห้องอาจเลือกให้ผู้เช่ารับผิดชอบการซ่อมแซมเล็ก ๆ น้อย ๆ ทั้งหมด ขณะที่บางคนอาจดูแลทุกอย่างเพื่อความสะดวกของผู้เช่า การพูดคุยเรื่องนี้ล่วงหน้าจะช่วยป้องกันความเข้าใจผิดและปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต   

ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการบำรุงรักษาแบบไหน การทำความเข้าใจเรื่องหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้เช่าและเจ้าของห้องจะช่วยให้การอยู่อาศัยราบรื่นขึ้น ลองตรวจสอบสัญญาเช่ากันให้ละเอียดก่อนเซ็น เพื่อให้มั่นใจว่าคุณรู้จักสิ่งที่ต้องรับผิดชอบและไม่ต้องมานั่งเถียงกันในภายหลัง! แต่หากคุณไม่ชำนาญหรือไม่มีเวลาหรือกำลังมองหาที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์มืออาชีพ เราบริษัท เดอะ บางกอก เรซิเดนซ์ 88 จำกัด ขอฝากเนื้อฝากตัว ไว้ในอ้อมอกอ้อมใจทุกท่านด้วยนะครับ ติดต่อเราได้เลยที่หมายเลขโทรศัพท์ 1319 แล้วพบกันครับ 

You May Also Like These Articles

Please Register your contact infomation and you’ll be contacted shortly.
Consult Real Estate Experts